วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่4

บันทึกอนุทิน

วันอังคาร ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2557

วันนี้พวกเราเสนองานกลุ่มในหัวข้อ เรื่อง 

ทักษะ 4 ทักษะ ดังนี้


1.ทักษะการฟัง
 2.ทักษะการพูด
    3.ทักษะการอ่าน 
    4.ทักษะการเขียน



คุณครูชี้แจงก่อนจะออกไปนำเสนอ


ทักษะการฟัง

ทักษะการพูด


ทักษะการอ่าน

ทักษะการเขียน





คุณครูสรุป ทั้ง4ทักษะ คือ ทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน


 สรุป 

                 ในการเรียนวันนี้ทำให้เเข้าใจถึงทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ในแต่ละช่วงวัยของเด็กปฐมวัยว่ามีพัฒนาการอย่างเป็นระบบ และยังรวมทั้งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆด้านของเด็กให้ดียิ่งขึ้นไปด้วย เราต้องคอยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาเด็กให้ดีและเหมาะสมกับวัยของเด็ก

ครั้งที่3

บันทึกอนุทิน

วันอังคาร ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2557

แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย

1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
                                             -ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ ( Skinner )
-John B. Watson
2.แนวคิดของกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
                                                                     -ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ( Piaget)

กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ

1.การดูดซึม ( Assimilation)
                                                                         2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (Accommodation)
                                                         
Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษาดังนี้
                  1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส
                                           2.ขั้นเตรียมการความคิดสมดุล                                 
3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
    4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม

3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
                             - อาร์โนล์ กีเซล ( Arnold Gesell)
- Noam Chomky
       - O.Hobart Mowrer


จิตวิทยาการเรียนรู้
        1.ความพร้อม
                                       2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.การจำ
                 4.การให้แรงเสริม



ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน









ทฤษฎีของ John B Watson




ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ ( Skinner) 


กิจกรรม

ให้วาดรูปสิ่งที่รักที่สุด




ภาพผลงาน

ออกไปนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน


สรุป

          
            ในการเรียนการสอนวันนี้ ทำให้รู้เกี่ยวกับแนวคิดของนักการศึกษามีความสอดคล้องต่อพัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง และมีวิธีคิดเเละพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างไรและ อีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้ทำก็คือ การวาดภาพ ระบายสี สิ่งที่รักมาก เป็นการฝึกช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ  เด็กๆทุกคนมีจิตนาการเป็นเลิศ เราก็เป็นผู้ส่งเสริมจิตนาการของเด็ก

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่2

บันทึกอนุทิน

วันอังคาร ที่ 04 กันยายน พ.ศ.2557


เรื่อง การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


ความสำคัญของภาษา
   1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
                                               2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
                                               3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
                                               4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ


ทักษะทางภาษาประกอบด้วย
1. การฟัง
 2. การพูด
  3. การอ่าน

    4. การเขียน

องค์ประกอบของภาษา
        1.Phonology 
    2.Semantic
3.Syntax
     4.Pramatic

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
1.ระยะเปะปะ อายุแรกเกิดถึง 6 เดือน เด็กจะเปล่งเสียงดังๆ เพื่อบอกความต้องการ จะออกเสียง อ้อ แอ้
2.ระยะแยกแยะ อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี สามารถแยกแยะเสียงต่างๆที่ได้ยิน พอใจที่ได้ส่งเสียง
3.ระยะเลียนแบบ อายุ 1-2 ปี เลียนเสียงต่างๆที่ได้ยิน พูดย้ำคำซ้ำๆไปมา ใช้คำศัพท์ได้ 5-20 คำ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
4.ระยะขยาย อายุ 2-4 ปี
     4.1 อายุ 2 ปี เรียกชื่อสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว พูดเป็นคำ รู้จักศัพท์ 150-300คำ ใช้สรรพนามแทนตัวเอง
     4.2 อายุ 3 ปี พูดเป็นประโยคได้ รู้จักศัพท์ 900-1000 คำ ขอความช่วยเหลือ สนทนาโต้ตอบด้วยประโยคสั้นๆ
     4.3 อายุ 4 ปี บอกชื่อสิ่งของในรูป ใช้คำบุพบทได้ รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี ชอบเล่าเรื่อง ชอบพูดซำ้ๆ
5.ระยะโครงสร้าง อายุ 4-5 ปี ใช้คำบรรยายลักษณะได้ดีขึ้น เริ่มเล่นสนุกกับคำ ทำตามคำสั่ง 3 อย่างต่อกันได้ รู้จักเวลาคร่าวๆ
6.ระยะตอบสนอง อายุ 5-6 ปี สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้ รู้จักใช้คำถาม ทำไม อย่างไร สร้างผลงานตามความคิด
7.ระยะสร้างสรรค์ อายุ 6 ปีขึ้นไป เข้าใจคำพูดในสังคม ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น สนุกกับการพูดและเขียน


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
                                                                            1.วุฒิภาษา
                                                           2.สิ่งแวดล้อม
                                                           3.การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
                                                           4.การจัดชั้นเรียน
                                                           5.การมีส่วนร่วม



>> ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน <<













>>  กิจกรรม <<

การคัดลายมือ หัวกลม ตัวเหลี่ยม















สรุป

     จากการเรียนวันนี้ ทำให้ทราบว่าภาษาเป็นสิ่งสำคัญเป็นมากในเด็กปฐมวัย ที่กำลังเจริญเติบโตและมีพัฒนาการในทุกๆด้าน ครูผู้สอนควรส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัย รวมทั้งสนับสนุนให้เขาได้ใช้ความคิดจินตนาการในแบบที่เขาคิด ไม่ควรปิดกั้นความคิด ให้แสดงความคิดอย่างเต็มที่







วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่1


บันทึกอนุทิน
วันอังคาร ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2557
     
          คาบแรกเรียนเรื่อง ภาษาสำหรับเด็ก อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำ my mapping และออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน

        




        



            ความรู้ที่ได้ในวันนี้ ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้


1. การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลาย เป็นการใช้    ภาษาที่ง่ายที่สุด

2. การพูด เป็นวิธีการพื้นฐานที่เด็กช่วยให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิด

3. การอ่าน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการอ่านหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งการอ่านภาพจากหนังสือนิทาน อ่านเครื่องหมาย อ่านสัญลักษณ์ หรืออ่านเรื่องราวที่เด็กสนใจ

4 การเขียน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการเขียนหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ หรือเขียนชื่อตนเองหรือคำที่คุ้นเคย