วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่8

บันทึกอนุทิน

วันอาทิตย์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2557

เรียนชดเชยวัน

วันพฤหัสบดี ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2557


ทวนเพลงทั้งหมด







คุณครูให้ออกมาร้องเพลง คนล่ะ 1 เพลง 
ดิฉันออกไปร้อง เพลง ลูกแมว 10 ตัว


สรุป

    การออกไปร้องเพลงรายบุคคล ทำให้เราได้ฝึกการร้องเพลงกับไมค์ ได้ร้องเพลงต่อหน้าคนเยอะๆ อย่างไม่เขินอาย ร้องให้ตรงจังหวะและทำนอง และยังได้รู้จักเพลงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะนำไปใช้ในอนาคตค่ะ

ครั้งที่7

บันทึกอนุทิน

วันพฤหัสบดี ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2557


วันนี้คุณครูสอนร้องเพลงอีก 10 เพลง 


                 1.ต้นไม้             
       2.ดอกไม้
               3.จ้ำจี้ดอกไม้  
     4.ลมพัด
                   5.รำวงดอกมะลิ  
          6.ดอกมะลิ
         7.กุหลาบ  
8.ส้ม
        9.ผลไม้   
      10.ส้มตำ












กิจกรรม

ทำนิทานที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำ และนำมารวมกันเป็นเรื่องเดียว
พวกเราทำนิทาน เรื่อง ทะเลสีฟ้าแสนสวย

กลุ่มของดิฉัน ได้ทำ หน้าที่2
" ที่ทะเลมีต้นมะพราว "










เอาทุกๆหน้ามารวมกัน ก็จะได้นิทานที่สวยและน่าอ่านมากเลยค่ะ



สรุป

    ทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยสามารถสื่อสารด้วยภาพ การทำนิทานภาพ ก็เป็นการสื่อสารที่ทำให้เด็กสนใจมากขึ้น และยิ่งเป็นนิทานที่เด็กๆช่วยกันแต่งแล้วละก็ เขายิ่งสนใจมาก และการที่เราเน้นคำว่า ทะเล เป็นตัวสีที่แตกต่างจากคำอื่น และยิ่งมีภาพทะเลประกอบด้วย ก็จะทำให้เด็กจำได้ว่าทะเลเป็นอย่างไร ทั้งยังทำให้เด็กๆมีความคิดสร้างสรรค์ ได้คิด วิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ได้เป็นอย่างดี 


วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่6

บันทึกอนุทิน

วันอังคาร ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2557

วันนี้เราทำกิจกรรมการทำชาร์ตเพลง

คุณครูอธิบายการทำชาร์ตเพลง



เริ่มทำชาร์ตเพลง พวกเราช่วยกันทำ โดยการ เขียน ระบายสี ตัด แปะ






ผลงานที่สำเร็จของพวกเรา


คุณครูอธิบายการอ่านชาร์ตเพลง ว่าควรอ่านอย่างไร



           แล้วก็ถึงเวลาที่เพื่อนๆแต่ล่ะกลุ่มต้องออกมาสอนเพื่อนๆร้องเพลงที่แต่ละกลุ่มทำขึ้นค่ะ






สรุป

       ความรู้ที่ได้ในการเรียนวันนี้ คือ ชาร์ตเพลงที่ทำต้องมีสีสันสวยงาม เน้นคำสำคัญในเพลง เพื่อให้เด็กสนใจและจดจำได้เป็นอย่างดี และการทำชาร์ตก็สามารถทำแบบรูปภาพแทนคำ หรือ มีทั้งรูปภาพทั้งคำก็ได้ แต่เด็กเล็กๆ เค้าจะยังอ่านไม่ออก ภาพจึงเป็นทางเลือกที่ดีมากค่ะ

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน

วันอังคาร ที่ 25 กันยายน พ.ศ.2557


วันนี้เราเรียนเรื่อง



แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา

                                             1.เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
2. นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน




Richard  and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม คือ

1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา

   - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อสารความหมาย

   - เสียง ไวยากรณ์  การประกอบคำเป็นวลีหรือประโยค
2.มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
   - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
   - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
  - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
   - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม

   - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์

   - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา


 >> ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย << 
 >> สนใจ อยากรู้ สงสัย เลียนแบบ <<

การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา ( Skill Approch)
                                      
                                      1. ให้เด็กได้รู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
2. การประสมคำ
          3. ความหมายของคำ

                             4. นำคำมาประกอบเป็นประโยค

                               5. การแจกลูกสะกดคำ  การเขียน







ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
                           1. สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
     2. ช่างสงสัย ช่างซักถาม
                                3. มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
      5. เลียนแบบคนรอบข้าง


Kenneth Goodman 
  1. เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
2. มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
                                           3. แนวทางการสอบมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก



การสอนภาษาธรรมชาติ ( Whole Language)
1. สอนแบบบูรณาการ/องค์รวม
2. สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
3. สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
4. สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
5. ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
6. ไม่บังคับให้เด็กเขียน


หลักของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
          1 .การจัดสภาพแวดล้อม
                   2.การสื่อสารที่มีความหมาย
      3.การเป็นแบบอย่าง
    4.การตั้งความหวัง
5.การคาดคะเน
               6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
       7.การยอมรับนับถือ
                        8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น


บทบาทของครู
    1. ครูคาดหวังกับเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
                                2. ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
                       3. ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกต้องครบถ้วนของเด็ก
4. ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์


ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน






















กิจกรรม







นี่คือผลงานของพวกเราค่ะ





กิจกรรมฝึกร้องเพลง

ผู้แต่ง อาจารย์ ศรีนวลรัตนสุวรรณ

                         เพลง เลขบวกลบ                 เพลงนกกระจิบ  
                         เพลง เที่ยวท้องนา               เพลง แม่ไก่ออกไข่่  
                         เพลง ลูกแมวสิบตัว              เพลงลุง
                         เพลงผีเเสื้อ                         เพลงกระต่าย  
                         เพลง ลูกสัตว์                       เพลง  นกเขาขัน 









สรุป


              ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สนใจ อยากรู้เอยากเห็น  ชอบเลียนแบบคนรอบข้าง  การสอนภาษาแบบธรรมชาติ เป็นการเรียนภาษาแบบองค์รวม/ บูรณาการ   เด็กจะเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์ และการกระทำ  ารสอนภาษาแบบธรรมชาติ จะต้องมีการจัดสภาพแวดล้อม  การสื่อสารที่มีความหมาย    การเป็นแบบอย่าง การตั้งความหวัง การคาดคะเน การใช้ข้อมูลย้อนกลับ  การยอมรับนับถือ  และสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น